วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560





บ่เป็นหยัง เค้าเข้าใจ

แหล่งท่องเที่ยว

สาเหตุที่การท่องเที่ยวไทยได้รับการสนับสนุนมากขึ้นใน พ.ศ. 2503 นั้น เพราะมีความมั่นคงทางการเมือง และมีการพัฒนากรุงเทพมหานครในเรื่องของการคมนาคมทางอากาศ ทำให้ธุรกิจโรงแรมและการค้าปลีกขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีความต้องการจากนักท่องเที่ยว และยังได้รับการส่งเสริมจากทหารอเมริกันที่เข้ามาพักผ่อนในช่วงสงครามเวียดนามอีกด้วย[2] พร้อมกันนั้นการท่องเที่ยวระหว่างประเทศก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการดำรงชีวิตของผู้คนที่มีเวลาว่างมากขึ้น และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้สามารถเดินทางได้เร็วกว่า, ราคาถูกกว่า และดีกว่า ด้วยโบอิง 747 ซึ่งให้บริการเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2513[3] ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศในทวีปเอเชียที่ได้รับผลประโยชน์จากกรณีนี้
จำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากเดิมที่มีชาวต่างชาติ 336,000 ราย และทหารที่เข้ามาพัก 54,000 นายใน พ.ศ. 2510[2] กลายเป็นชาวต่างชาติมากกว่า 14 ล้านคนใน พ.ศ. 2550 โดยระยะเวลาเฉลี่ยที่อยู่ในประเทศไทยใน พ.ศ. 2550 อยู่ที่ประมาณ 9.19 วัน ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากถึง 547,782 ล้านบาท[4] ใน พ.ศ. 2550 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ไปท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก ด้วยจำนวน 14.5 ล้านคน ขณะที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก โดยมีมากถึง 82 ล้านคน[5]
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า[6] 55% ของนักท่องเที่ยวใน พ.ศ. 2550 มาจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เป็นส่วนใหญ่ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกส่วนใหญ่มาจากสหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา และสแกนดิเนเวีย ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางและรัสเซียก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน[7] ประมาณ 55% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นผู้ที่กลับมาเพื่อเยี่ยมบ้านเกิด ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในช่วงเทศกาลคริสต์มาสต์ถึงปีใหม่ เมื่อนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกหนีสภาพหนาวเย็น โดยในปี พ.ศ. 2558 นักท่องเที่ยวจากประเทศจีน มีจำนวนมากที่สุด [8][9]
การท่องเที่ยวในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 187,898 ล้านบาทใน พ.ศ. 2541 เป็น 380,417 ล้านบาทใน พ.ศ. 2550[4] โดยล่าสุดในปี 2558 การท่องเที่ยวสร้างรายได้จากไทยเที่ยวไทยและต่างชาติ 2.23 ล้านล้านบาท [10]
นักท่องเที่ยวชาวเอเชียส่วนใหญ่จะท่องเที่ยวที่กรุงเทพมหานคร และโบราณสถาน, สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในปริมณฑล ส่วนนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจะไม่มาเพียงแค่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น แต่จะเดินทางไปยังชายหาดและหมู่เกาะต่างๆทางภาคใต้ ส่วนภาคเหนือเป็นพื้นที่หลักในการเดินป่าและผจญภัยบนหมู่บ้านชาวเขา รวมไปถึงป่าและภูเขาต่างๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานเป็นภาคที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปน้อยที่สุด นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังได้มีการจัดตั้งตำรวจท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอีกด้วย[11]
หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการค้าประเวณียังมีเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายก็ตาม โดยรัฐบาลไทยได้มีความพยายามที่จะติดตามและควบคุมปัญหาดังกล่าว คาดว่ามีชาวต่างชาติประมาณ 20% จากการค้าประเวณีทั้งหมดในประเทศไทย และในปัจจุบันยังมีการค้าประเวณีอย่างแพร่หลายในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น เมืองพัทยาถนนพัฒน์พงศ์ และหาดป่าตอง[12]
การแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ มีมากขึ้นตั้งแต่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เปิดให้มีการท่องเที่ยวระหว่างประเทศขึ้นในช่วง พ.ศ. 2523 และ พ.ศ. 2533 สถานที่ท่องเที่ยวอย่างนครวัด เมืองหลวงพระบาง และอ่าวหะล็อง สามารถแข่งขันกับประเทศไทยซึ่งเคยผูกขาดด้านการท่องเที่ยวในแถบอินโดจีน ทำให้ประเทศไทยต้องมีการกำหนดเป้าหมายต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การตีกอล์ฟในวันหยุด นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแผนที่จะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภูมิภาคอีกด้วย[13] จากข้อมูลของโลนลี่แพลเน็ต ประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ใน "จุดหมายคุ้มค่าสุดสำหรับ พ.ศ. 2553" รองจากไอซ์แลนด์ ซึ่งได้รับกระทบอย่างหนักจากวิกฤตซับไพรม์[14] นอกจากนี้ กรุงเทพยังได้รับการจัดอันดับ เป็นที่ 2 ของโลก เมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุด จากการจัดอันดับของ Master card สองปีซ้อนคือ ปี พ.ศ. 2557-2558 [15][16]

หมดใจ